จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 2 การมีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคม



การมีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคม ที่คำนึงถึงสิทธิมนุษย์ชนและอุดมการณ์ประชาธิปไตย
ผลการเรียนรู้
1.       มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธุ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับพลเมืองดี
การที่เราจะเป็นบุคคลในสังคมประชาธิปไตยยังต้องรู้หลักการเป็นพลเมืองที่ดี ในสังคมประชาธิปไตย การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย สมาชิกทุกคนจะต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนทั้งต่อตนเอง ต่อครอบครัวชุมชน สังคมและประเทศชาติ รู้จัก  การทำงานร่วมกันมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในกิจกรรมทางสังคม ดูแลรักษาสาธารณประโยชน์ สิ่งแวดล้อมของชุมชนและประเทศชาติ นำหลักคุณธรรมมาใช้  ในกระบวนการทางประชาธิปไตย  ซึ่งถ้าทุกคนตระหนักถึงความสำคัญและปฏิบัติตน เป็นพลเมืองที่ดีทั้งต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติแล้ว ย่อมเป็นสิ่งจรรโลงให้การปกครองระบอบประชาธิปไตย มีความมั่นคงยืนนานตลอดไปและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่าง  มีความสงบสุข 
2.       หลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษย์ชน
2.1สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิเฉพะของมนุษย์แต่ละคนที่ไม่สามารถโอนให้กันและกันได้
2.2 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ และต้องพึ่งพิงกันและกัน2.3 สิทธิมนุษยชน เป็นวิถีทางที่นำไปสู่สันติภาพและพัฒนาที่ยั่งยืน2.4 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่บุคคลพึงมีในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์2.5 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีความเท่าเทียมกันอย่างเป็นสากลและตลอดไ
3.       การปกครองระบอบประชาธิปไตย
   ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองและวิธีการดำเนินชีวิต ซึ่งยึดหลักของความเสมอภาค เสรีภาพและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน และอำนาจอธิปไตยต้องมาจากปวงชน
                คำว่า ประชาธิปไตย เป็นศัพท์ที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากในโลกปัจจุบัน เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศต่างๆ แม้จะมีรูปแบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมที่แตกต่างกัน แต่ต่างก็อ้างว่าประเทศของตนเป็นประชาธิปไตยกันทั้งสิ้น   ในประเทศสังคมนิยมหลายประเทศ เช่น อดีตสหภาพโซเวียต และจีน ต่างก็อ้างว่าประเทศของตน  ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นประชาธิปไตยในอีกแง่หนึ่งที่เรียกว่า ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ กล่าวคือ ยินยอมให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในขอบเขตที่จำกัด ส่วนการดำเนินการทางการเมือง ยังคงตกอยู่ในมือของผู้มีอำนาจเพียงไม่กี่คนเท่านั้น นอกจากนี้ประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทย หลังจากได้รับเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ในสมัยของประธานาธิบดีซูการ์โน ได้ประกาศใช้ระบอบประชาธิปไตยนำวิถี   จากความหลากหลายของการให้ความหมายนี้เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ในที่นี้จะขออธิบายประชาธิปไตยในความหมายของเสรีประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยแบบตะวันตกเท่านั้น
4.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
 เมื่อไม่นานมานี้ฉันได้อ่านบทความหนึ่งชื่อว่า “บทเรียนกรณี 'อากง' กับปัญหาสิทธิมนุษยชนไทย” เป็นการบอกเล่าข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ ‘อากง’ ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งบทความดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของกระบวนการยุติธรรมของไทยและที่สำคัญคือประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย
          ปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในแง่มุมทาง ‘กฎหมาย’ และ ‘การเมือง’ อยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกลุ่ม ‘นิติราษฎร์’ ซึ่งนำโดย อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะรวม 7 คน ออกมาประกาศเรียกร้องให้แก้ไขมาตรา 112 ในเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งต่อมาไม่นานก็เป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางทั้งผู้สนับสนุนและต่อต้าน

          ต่อมาในปลายปีเดียวกันนั้นเอง นิติราษฎร์ก็ได้จัดงานครบรอบ ‘5 ปีรัฐประหาร 19 ก.ย.49’ พร้อมทั้งได้ประกาศข้อเสนอ 4 ประการเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม ได้แก่

  • ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
  • แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
  • กระบวนการยุติธรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลย และเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายหลังรัฐประหาร
  • ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

          จะเห็นได้ว่า ‘มาตรา 112’ ก็เป็นปัญหาสำคัญที่นิติราษฎร์เห็นว่าควร ‘แก้ไข’ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการต่อต้าน ‘รัฐประหาร’ การต่อต้าน ‘รัฐธรรมนูญเผด็จการ’ และการเยียวยา ‘ผู้ได้รับความเสียหาย’ จากเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้นิติราษฎร์ได้รับทั้ง ‘ดอกไม้’ และ ‘ก้อนหิน’ ในเวลาเดียวกัน จนท้ายที่สุดต้องส่งไม้ต่อให้คณะรณรงค์แก้ไข ม.112 หรือ ‘ครก.112’ ในเวลาต่อมา

          ตัวกฎหมาย ‘มาตรา 112’ นี้ผมจะไม่กล่าวถึงมากนัก เพราะได้อธิบายไปพอสมควรแล้วในบทความที่ผ่านมา[1] แต่จะขอเสนอความเห็นของทั้งฝ่ายที่ ‘เห็นด้วย’ และ ‘ไม่เห็นด้วย’ ในการแก้ไขมาตรา 112 รวมถึงท่าทีของนานาชาติต่อกรณีดังกล่าว เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้พินิจพิจารณาว่าเหตุใดเราจึง ‘ควรแก้’ หรือ ‘ไม่ควรแก้’ กฎหมายมาตรานี้
5.       ประเด็นที่เชื่อมโยงเรื่องราว และมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างในระดับท้องถิ่นกับระดับโลก ในภาพกว้าง
“  มีเสียงพูดกันถี่ขึ้นถึงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือที่เรียกกันติด ปากว่า "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"บางคนก็บอกว่าต้องยกเลิกเพราะไม่เป็นประชาธิปไตยบ้าง ขัดต่อรัฐธรรมนูญบ้าง เป็นการขัดขวางต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นบ้าง บ้างก็ว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมเสียใหม่ เพราะโทษที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินไป น่าจะไม่ชอบด้วยหลักสิทธิมนุษยชน ความคิดเห็นที่แตกต่างหรือการคิดปรับปรุงกฎหมายทั้งหลายทั้งปวงนั้น ย่อมเป็นสิทธิอันชอบธรรมของแต่ละบุคคลที่จะคิดได้ ถกเถียงกันได้ ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าใครผิดหรือใครถูกทำให้มีคนบริสุทธิ์ถูกกล่าวหาความยุติธรรมก็จะไม่มีในสังคมโลก ถ้าเกิดมีคนมากล่าวหาว่าคนที่ไม่รู้อะไรเลยเราก็ต้องติดคุกโดยไม่อาศัยหลักฐานใดๆประเทศคงมีแต่คนชั่วเต็มบ้านเมือง อย่างไรก็ตามมนุษย์ทุกคนต้องการความยุติธรรมไม่ใช่จะมาใส่ร้ายกันแล้วโดนคดีจนติดคุกจนเสียชีวิตในคุกมันก็ไม่ถูก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น