จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 5 สิทธิมนุษย์ชน



ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษย์ชน
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษย์ชน
2.1สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิเฉพะของมนุษย์แต่ละคนที่ไม่สามารถโอนให้กันและกันได้2.2 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ และต้องพึ่งพิงกันและกัน2.3 สิทธิมนุษยชน เป็นวิถีทางที่นำไปสู่สันติภาพและพัฒนาที่ยั่งยืน2.4 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่บุคคลพึงมีในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์2.5 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีความเท่าเทียมกันอย่างเป็นสากลและตลอดไ

2.       หลักการของสิทธิมนุษย์ชน

หลักการสำคัญของ "สิทธิมนุษยชน"
ศักดิ์ศรความเป็นมนุษย์ หมายถึง สิ่งที่ติดตัวบุคคลมาตั้งแต่เกิดที่ทุกคนต้องปฏิบัติต่อกันอย่างให้เกียรติในฐานะที่เป็นมนุษย์ ดังที่ปรากฎในคำปรารภของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระ เสรีภาพ และเสมอภาคกัน จึงควรปฏิบัติต่อกันฉันท์พี่น้อง หรืออีกนัยหนึ่งคือการปฏิบัติต่อกันอย่างไม่ให้เกียรติไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั่นเอง
การไม่เลือกปฏิบัติ ถึงแม้ว่าคนเราเกิดมา จะมีความแตกต่างกันในเรื่อง ฐานะ ความเป็นอยู่ การศึกษา เพศ ศาสนา หรือความบกพร่องของร่างกาย แต่ภายใต้การคุ้มครองโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เราต้องไม่อาศัยความแตกต่างเหล่านี้มาเป็นสาระสำคัญในการปฏิบัติหรือจำกัดสิทธิหรือกีดกันบุคคลบางกลุ่ม เช่น ไม่อนุญาตให้คนอ้วนเรียนพยาบาล ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการเลือกปฏิบัติ
    นอกจากนี้จากการปฏิบัติต่อบุคคลต้องคำนึงถึง ความเสมอภาค กล่าวคือ หากบุคคลอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน ด้วยเหตุจากความแตกต่าง อาทิ เผ่าพันธุ์ สีผิว เพศ ภาษา สัญชาติ เชื้อชาติ ชนชั้น เป็นต้น ก็ต้องมีการปฏิบัติตอ่บุคคลให้เสมอภาคโดยเท่าเทียมกัน
แบ่งแยกไม่ได้  สิทธิมนุษยชนไม่สามารถแบ่งแยกได้หรือไม่มีลำดับชั้น สิ่งใดที่บัญญัติให้เป็นสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามกฎหมาย บุคคลเข้าถึงสิทธินั้นโดยเสมอภาคกัน
ความเป็นสากล สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องสากลที่ทุกคนมีเหมือนกันหมดไม่สามารถถอนจากผู้หนึ่งแล้วถ่ายโอนหรือเพิ่มเติมให้ผู้หนึ่งเป็นการเฉพาะได้
   ดังนั้น การสร้างหลักประกันแก่ประชาชนว่าจะได้รับการปกป้องคุ้มครองตามหลัก สิทธิมนุษยชน ดังกล่าว จึงเป็นหน้าที่ของรัฐโดยตรงในการที่จะต้องปฏิบัติรับรองสิทธิของประชาชนเอาไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายเพื่อให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม


3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน

   เมื่อไม่นานมานี้ผมได้เขียนบทความหนึ่งชื่อว่า “บทเรียนกรณี 'อากง' กับปัญหาสิทธิมนุษยชนไทย” เป็นการบอกเล่าข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ ‘อากง’ ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งบทความดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของกระบวนการยุติธรรมของไทยและที่สำคัญคือประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย

        ปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในแง่มุมทาง ‘กฎหมาย’ และ ‘การเมือง’ อยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกลุ่ม ‘นิติราษฎร์’ ซึ่งนำโดย อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะรวม 7 คน ออกมาประกาศเรียกร้องให้แก้ไขมาตรา 112 ในเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งต่อมาไม่นานก็เป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางทั้งผู้สนับสนุนและต่อต้าน

          ต่อมาในปลายปีเดียวกันนั้นเอง นิติราษฎร์ก็ได้จัดงานครบรอบ ‘5 ปีรัฐประหาร 19 ก.ย.49’ พร้อมทั้งได้ประกาศข้อเสนอ 4 ประการเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม ได้แก่

  • ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
  • แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
  • กระบวนการยุติธรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลย และเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายหลังรัฐประหาร
  • ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง

   จะเห็นได้ว่า ‘มาตรา 112’ ก็เป็นปัญหาสำคัญที่นิติราษฎร์เห็นว่าควร ‘แก้ไข’ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการต่อต้าน ‘รัฐประหาร’ การต่อต้าน ‘รัฐธรรมนูญเผด็จการ’ และการเยียวยา ‘ผู้ได้รับความเสียหาย’ จากเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้นิติราษฎร์ได้รับทั้ง ‘ดอกไม้’ และ ‘ก้อนหิน’ ในเวลาเดียวกัน จนท้ายที่สุดต้องส่งไม้ต่อให้คณะรณรงค์แก้ไข ม.112 หรือ ‘ครก.112’ ในเวลาต่อมา
          ตัวกฎหมาย ‘มาตรา 112’ นี้ผมจะไม่กล่าวถึงมากนัก เพราะได้อธิบายไปพอสมควรแล้วในบทความที่ผ่านมา[1] แต่จะขอเสนอความเห็นของทั้งฝ่ายที่ ‘เห็นด้วย’ และ ‘ไม่เห็นด้วย’ ในการแก้ไขมาตรา 112 รวมถึงท่าทีของนานาชาติต่อกรณีดังกล่าว เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้พินิจพิจารณาว่าเหตุใดเราจึง ‘ควรแก้’ หรือ ‘ไม่ควรแก้’ กฎหมายมาตรานี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น