จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรม การเรียนรู้ที่ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
ความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้ง มีขันติ อดทน อดกลั้น ต่อความแตกต่าง ขัดแย้ง
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง

ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยเฉพาะเมื่อมนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหรือการที่ต้องทำงานเป็นกลุ่ม นอกจากความขัดแย้งระหว่างบุคคลแล้วยังจะมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มด้วย หากสมาชิกกลุ่มมีความแตกต่างกันมากในหลายๆ ด้าน ความขัดแย้งก็จะเกิดมากขึ้น จึงอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการยากที่คนเราจะทำงานร่วมกันในหน่วยงานโดยปราศจากความขัดแย้ง จนมีคำกล่าวว่า “ความขัดแย้งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีในชีวิตแต่ปัญหาไม่จำเป็นต้องมี ” เพราะความขัดแย้งที่คงอยู่ในระดับหนึ่งอาจไม่ก่อให้เกิดปัญหา แม้กระนั้นนักบริหารก็จะต้องให้ความสนใจกับเรื่องของความขัดแย้ง และเข้าเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

2.       หลักการของความขัดแย้ง
ในกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งที่สลับซับซ้อน, มีความขัดแย้งจำนวนมากดำรงอยู่ และในจำนวนนี้ย่อมจะมีอันหนึ่งเป็นความขัดแย้งหลัก เนื่องจากการดำรงอยู่และการพัฒนาของมัน จึงกำหนดหรือส่งผลสะเทือนต่อการดำรงอยู่และการพัฒนาของความขัดแย้งอื่น ๆ.

          ตัวอย่างเช่น ในสังคมทุนนิยม พลังทั้งสองที่ขัดแย้งกันอันได้แก่ชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นนายทุนนั้นเป็นความขัดแย้งหลัก; พลังอื่น ๆ ที่ขัดแย้งกัน เช่นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นศักดินาที่เหลือเดนกับชนชั้นนายทุน ความขัดแย้งระหว่างนายทุนน้อยที่เป็นชาวนากับชนชั้นนายทุน ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับนายทุนน้อยที่เป็นชาวนา, ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนเสรีกับชนชั้นนายทุนผูกขาด, ความขัดแย้งระหว่างลัทธิประชาธิปไตยของชนชั้นนายทุนกับลัทธิฟัสซิสต์ของชนชั้นนายทุน ความขัดแย้งระหว่างประเทศทุนนิยมด้วยกัน ความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดินิยมกับเมืองขึ้น ตลอดจนความขัดแย้งอื่น ๆ ล้วนแต่กำหนดหรือส่งผลสะเทือนโดยพลังความขัดแย้งหลักนี้ทั้งสิ้น. 
3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
จากความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มชาติอาหรับลดความนับถือต่อประธานาธิบดี นัสเซอร์ เป็นอย่างมาก และยังทำให้ "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" (PLO : Palestine Liberation Organization) ที่เขาก่อตั้งขึ้น ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งใหญ่ มีการเลือกประธานคนใหม่ที่มาพร้อมกับนโยบายที่แข็งกร้าวขึ้น นั่นคือ นายยัสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat)
อาราฟัต เข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยที่ยังศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแห่งกษัตริย์ฟาฮัดที่ 1 ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ และได้เข้าร่วมเป็นทหารในกองทัพอียิปต์เมื่อครั้งสงครามคลองสุเอซ ในปี ค.ศ.1956 จากนั้นได้ไต่เต้าขึ้นมาสู่ตำแหน่งสำคัญๆ ในองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์จนกระทั่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำในที่สุดอาราฟัต พยายามอย่างยิ่งในการแสดงให้ชาวโลกยอมรับการมีตัวตนของชาวปาเลสไตน์และพยายามแสดงให้เห็นถึงความชอบธรรม ในการกอบกู้ดินแดนของชาวปาเลสไตน์คืนจากอิสราเอล ในปี 1972 ณ เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี โดยกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "ขบวนการกันยาทมิฬ" (Black September)กลุ่มนักรบปาเลสไตน์บุกเข้าหอพักนักกีฬาโอลิมปิก พร้อมกับจับตัวนักกีฬาชาวอิสราเอลจำนวน 11 คนเป็นตัวประกัน โดยพวกเขาเรียกร้องให้รัฐบาลอิสราเอลปล่อยตัวนักโทษการเมืองชาวปาเลสไตน์ 234 คน และอีก 2 คนที่ถูกคุมขังอยู่ที่เยอรมัน พร้อมทั้งร้องขอเครื่องบินเพื่อเตรียมหลบหนีเข้าอียิปต์ 
4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
เกิดจาการแย่งชิงดินแดนกันของชาวยิวกับชาวปาเลสไตน์
ปี ค.ศ.1923 องค์การสันนิบาตชาติ มอบหมายให้อังกฤษเป็นผู้ดำเนินการส่งมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้แก่ชาวยิว แต่อังกฤษก็ยังคงครอบครองดินแดนไว้เพื่อใช้ต่อรองกับกลุ่มชาติอาหรับ ในการทำสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งแน่นอนว่าภายหลังสงคราม ดินแดนเจ้าปัญหานี้ก็ยังไม่ได้ถูกส่งมอบให้แก่ฝ่ายไหนอยู่ดี อีกทั้งปัญหาการอพยพเข้ามาของชาวยิวจำนวนมากก็ยังเพิ่มทวีความวุ่นวายเข้าไปทุกขณะ โดยมีกลุ่มชาติอาหรับแสดงท่าทีไม่พอใจอย่างเห็นได้ชัด
ปี ค.ศ.1947 สมัชชาสหประชาชาติ ลงมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิว โดยแบ่งเอาดินแดนบางส่วนของซีเรียและอียิปต์ไปด้วย โดยมติดังกล่าวไม่ได้ขอความเห็นชอบจากชาวปาเลสไตน์เลยแม้แต่น้อย
การแบ่งดินแดนในครั้งนั้น ทำให้ปาเลสไตน์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวยิว และอีกส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวอาหรับ
ปี ค.ศ.1948 มีการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นอย่างเป็นทางการบนแผ่นดินปาเลสไตน์ โดยมี ดาวิด เบนกูเรียน (David Bengurion) เป็นผู้นำคนแรก โดยตั้งชื่อว่า รัฐอิสราเอล ส่งผลให้ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้กลายเป็นชาวอิสราเอลไปโดยปริยาย ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้ชนชาติอาหรับ
จนกลุ่มชาติอาหรับจัดตั้งกองกำลังบุกเข้าอิสราเอล
   อ.อับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น