จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 3 ความยุติธรรมในสังคม



ความสำคัญของความเสมอภาคและความยุติธรรมในสังคม
ผลการเรียนรู้
1.       มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
ความสำนึกตระหนักในความสำคัญของความเสมอภาคและความยุติธรรมในสังคม
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาค

ในยุคปัจจุบันที่สังคมโลกต่างให้ความสำคัญกับกระแสสิทธิมนุษยชนและกระแสประชาธิปไตย คนทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นธรรมในสิทธิที่ตนเองควรจะได้รับ ตั้งแต่แรกเกิดคือสิทธิที่จะต้องอยู่รอด สิทธิในการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และสิทธิที่จะได้รับการศึกษาและฝึกอบรมที่สอดคล้องกับสภาพวิวัฒนาการของสังคมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ 
ที่ความรู้คืออำนาจ การเรียนรู้จึงกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อคนทุกคนอย่างทวีคูณ ผู้ที่เข้าถึงความรู้ได้มากกว่าจึงได้เปรียบคนที่เข้าถึงความรู้ได้น้อยกว่า ผู้คนทั่วโลกมีความต้องการการศึกษามากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการประชุมการศึกษาโลกที่เมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล เมื่อ พ.ศ. 2543 ที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยมีการเสนอจุดหมายหรือหลักชัย (Goals) 6 ข้อ ซึ่งจุดหมายทั้งสามข้อใน 
ข้อนั้น ได้ชี้ให้เห็นว่าประเด็นในเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากก่อนที่เราจะทำให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการเสมอภาคทางการศึกษานั้น การมีความเข้าใจแนวคิดเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาที่ตรงกันเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ในบทความนี้ผมขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเป็นฐานในการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการศึกษาทั้งในภาพรวมระดับประเทศ และระดับสถานศึกษา
2.       หลักการเกี่ยวกับความยุติธรรม

คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2549 โดยเป็นเครือข่ายนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพเพื่อส่งเสริมการไม่ใช้ความรุนแรงและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมและยุติการลอยนวลพ้นผิด คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน พร้อมกับส่งเสริมนักกิจกรรมระดับรากหญ้าและให้ความสนับสนุนผู้เสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการต่อสู้เพื่อให้ได้รับความยุติธรรม ในเดือนธันวาคม 2552 คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิกับสำนักงานเขตที่กรุงเทพมหานคร และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพเชื่อว่าการเคารพสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมเป็นเงื่อนไขจำเป็น เพื่อลดความขัดแย้งที่รุนแรงและสถาปนาสันติภาพในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพเชื่อว่าปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงคือตัวชุมชนเอง จึงให้ความสำคัญและทุ่มเททรัพยากรเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะเกี่ยวกับประเด็นความยุติธรรมและหลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชนและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ส่งเสริมศักยภาพของผู้เสียหายและสมาชิกในครอบครัวที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และช่วยให้ชุมชนปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยใช้สันติวิธี และการรณรงค์ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อให้รัฐบาลไทยแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการละเลยต่อหลักนิติธรรม เพื่อยุติการละเว้นโทษและให้การเยียวยากับผู้เสียหายและครอบครัวมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพมีเป้าหมายส่งเสริมให้ภาครัฐมีเจตจำนงทางการเมืองที่หนักแน่นขึ้นในการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรม โดยกระตุ้นให้ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมสร้างแรงกดดัน และให้มีการคุ้มครองต่อผู้แสวงหาความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพมุ่งทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านี้โดยผ่านเครือข่ายนักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนและการไม่ใช้ความรุนแรง การสนับสนุนจากเครือข่ายพันธมิตร และการจัดตั้งชุมชนตามบรรทัดฐานของสิทธิมนุษยชน

3.    วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน

ความขัดแย้งแบ่งสีในสังคมไทยปะทุขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 บานปลายสืบเนื่องนานหลายปีโดยยังไม่มีวี่แววว่าจะสร่างซา ประเทศไทยเดินดุจเรือไร้หางเสือผ่านรัฐประหาร รัฐบาลนอมินี รัฐบาลอำมาตย์ พลิกกลับมาเป็นรัฐบาลโคลนนิ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2554 ความยุติธรรมในสังคมยังดูเป็นอุดมคติอันไกลโพ้น ขณะที่ความอยุติธรรมชัดแจ้ง ฝากรอยแผลทางกายและในใจคนอย่างท่วมท้นขึ้นเรื่อยๆ จนคำกล่าวที่ว่า “คุกไทยมีไว้ขังคนจน” ดูจะเป็นสัจธรรมอันยากสั่นคลอน
อย่างไรก็ดี คุณูปการประการหนึ่งของความอึมครึมและแตกแยกในสังคม คือ คำว่า “ความยุติธรรม” ถูกพูดถึงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในแทบทุกระดับชั้น ตั้งแต่ผู้นำประเทศจนถึงคนเดินดิน แม่ค้าถกเรื่อง “ตุลาการภิวัตน์” กับลูกค้าระหว่างตักข้าวแกงใส่จาน คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ใส่เสื้อสีที่ “ตื่นตัวทางการเมืองอย่างฉับพลัน” ตามวาทะของอาจารย์เกษียร เตชะพีระ ถกเถียงเรื่องความยุติธรรมทางสังคมอย่างหน้าดำครํ่าเครียด และบางทีก็ถึงขั้นลงไม้ลงมือ
แต่ไม่ว่าเราจะถกเรื่องความยุติธรรมกันมากเพียงใด สิ่งที่ยังพบเห็นน้อยมากในทัศนะของผู้แปลคือ การถกเถียงอย่างรอบด้าน เคารพซึ่งกันและกัน และพยายามให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อันล้วนเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการเดินสู่ “ความยุติธรรม” ที่แท้จริง

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง

การถกเถียงเรื่องความยุติธรรม ตั้งแต่เรื่องระดับชาติจนถึงเรื่องในครอบครัว ยังดูจะมุ่งไปที่การชักโวหารเหตุผลจากแม่นํ้าทั้งห้ามาสาธยายว่าทำไม “ฉันถูก แกผิด” และ “ความยุติธรรม” ก็มักถูกใช้ในความหมายว่า อะไรก็ตามที่ทำให้ฉันหรือพวกของฉันได้ประโยชน์ โดยไม่สนใจว่าคนอื่นได้รับผลกระทบอย่างไร กระทั่งไม่อยากฟังเพราะปักใจเชื่อไปแล้วว่าคนอื่นไม่ควรค่าแก่การรับฟัง เพราะเป็นสลิ่ม / เป็นควายที่ถูกซื้อ / เป็นชนชั้นกลางดัดจริต / เป็นพวกล้มเจ้า ฯลฯการเที่ยวแขวน “ป้าย” ง่ายๆ เหล่านี้ให้กับผู้คิดต่าง ทำให้คนจำนวนมากไม่ถกกันอย่างเปิดใจและตรงไปตรงมา หมกมุ่นกับการใช้วาทศิลป์สร้างวาทกรรมด้านเดียวมาสนับสนุนการต่อสู้ทางการเมือง อาทิ เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง ประชานิยม ทุนโลกาภิวัตน์ ฯลฯ ทั้งที่ในโลกแห่งความจริง สิ่งที่คำเหล่านี้อธิบาย ไม่ได้มีแต่ด้านบวกหรือด้านลบเพียงด้านเดียว และคำหลายคำที่ถูกหยิบขึ้นมาใช้เป็นอาวุธทางความคิดนั้น แท้จริงสามารถใช้ร่วมกันได้อย่างไม่เคอะเขินเพื่ออธิบายความจริง เช่น กลุ่มการเงินชุมชนหลายกลุ่มใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงช่วยเหลือชาวบ้านที่เป็นหนี้สินล้นพ้นตัวได้สำเร็จ เสร็จแล้วก็นำเงินกู้ในนโยบาย “ประชานิยม” อย่างเช่นกองทุนเอสเอ็มแอล มาช่วยให้พวกเขาได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาใหม่ความยุติธรรมจะบังเกิดได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกันเราจะเข้าใจกันได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่ให้ความยุติธรรมแม้กับถ้อยคำ ล่ามโซ่ตีกรอบความหมายของมันอย่างคับแคบด้วยวาทกรรมที่ใช้ฟาดฟันทางการเมือง แบ่งโลกออกเป็นขาว – ดำ ทั้งที่โลกจริงหลากหลายกว่านั้น ซับซ้อนกว่านั้น และมีความหวังมากกว่านั้นในห้วงยามที่สังคมเป็นเช่นนี้ ผู้แปลคิดว่าหนังสือ “ความยุติธรรม” มาถูกที่ถูกเวลาเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้เขียน – ไมเคิล แซนเดล - เป็นนักปรัชญาการเมืองร่วมสมัยที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในโลกวิชาการ ยิ่งกว่านั้นคือ อาจารย์เป็นปัญญาชนสาธารณะที่มีความสุขกับการใช้ปรัชญาทางการเมืองหลากสำนักตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นแว่นขยายส่องประเด็นสาธารณะต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน การเกณฑ์ทหาร การโก่งราคาในภาวะฉุกเฉิน โบนัสมหาศาลของผู้บริหารธนาคาร การเก็บภาษีคนรวยมาช่วยคนจน การอุ้มบุญ การุณยฆาต สิทธิส่วนบุคคลกับประโยชน์สาธารณะ ฯลฯผู้แปลโชคดีที่เคยนั่งเรียนวิชา “ความยุติธรรม” กับอาจารย์ วิชานี้เป็นวิชาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดติดต่อกันนานกว่าสองทศวรรษ มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนมากกว่าหนึ่งพันคนทุกภาคเรียน มากจนต้องไปเรียนกันในโรงละครแซนเดอร์ส ซึ่งจุคนได้มากที่สุดในมหาวิทยาลัยสิ่งที่ทำให้ผู้แปลทึ่งที่สุดไม่ใช่ความรอบรู้ของอาจารย์แซนเดล หากแต่เป็นความเอื้ออาทร อ่อนโยน และเคารพอย่างจริงใจในความคิดเห็นของนักศึกษาทุกคน กระทั่งกับคนที่ดันทุรัง – ดื้อดึง – ด่าทอเพื่อนร่วมห้อง หรือพูดจาถากถางอาจารย์ด้วยความเชื่อมั่นเกินขีดความสามารถของตัวเอง อาจารย์แซนเดลก็จะรับฟังอย่างตั้งใจ ใจเย็น และใจกว้าง ชี้ชวนให้ผู้คิดต่างเสนอความเห็นและถกเถียงกันในชั้นเรียน โดยสอดแทรกความคิดเห็นของตัวเองให้น้อยที่สุดอาจฟังดูเหลือเชื่อว่า ในชั้นเรียนซึ่งมีนักเรียนยัดทะนานนับพัน ล้นห้องจนบางคาบนักศึกษานับร้อยต้องนั่งพื้นตรงทางเดิน อาจารย์กลับสามารถถามคำถามและดำเนินบทสนทนาระหว่างนักเรียนได้อย่างมีชีวิตชีวาและท้าทายความคิด (“เอ้า หนุ่มน้อยเสื้อหนาวสีขาวใส่แว่น ชั้นสามจากบนสุดคิดอย่างไรครับ”)แต่อาจารย์แซนเดลทำได้ หนังสือเล่มนี้เป็นการถ่ายทอดบทสนทนาและการโต้วาทีในชั้นเรียน ระหว่างนักศึกษาด้วยกัน และระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ราวกับยกวิชาในตำนวนวิชานี้ทั้งวิชามาอยู่บนหน้ากระดาษนอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความคิดและปรัชญาการเมืองในโลกตะวันตกแล้ว แซนเดลพยายามจะบอกเราว่า ความยุติธรรมนั้นถึงที่สุดแล้วเป็นเรื่องของการ “ให้คุณค่า” กับสิ่งต่างๆ และด้วยเหตุนี้ ทั้ง “เหตุผล” และ “ศีลธรรม” จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังเนื้อความตอนหนึ่งว่า“การขอให้พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยทิ้งความเชื่อทางศีลธรรมและศาสนาไว้เบื้องหลังเมื่อพวกเขาเดินเข้าสู่วงอภิปรายสาธารณะนั้น อาจดูเป็นวิธีสร้างหลักประกันว่าคนจะอดทนอดกลั้นและเคารพซึ่งกันและกัน แต่ในความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นอาจตรงกันข้าม การตัดสินคำถามสำคัญๆ ใประเด็นสาธารณะขณะแสร้งทำตัวเป็นกลาง ทั้งที่เป็นกลางจริงๆ ไม่ได้นั้น คือสูตรสร้างปฏิกิริยาโต้กลับและความไม่พอใจ การเมืองกลวงเปล่าอันสิ้นไร้การโต้เถียงทางศีลธรรมอย่างหนักแน่นทำให้ชีวิตพลเมืองของเราแร้นแค้น นอกจากนี้มันยังเชื้อเชิญลัทธิคลั่งศีลธรรมอันคับแคบและไม่อดทนอดกลั้น นักรากฐานนิยมวิ่งเข้าสู่พื้นที่ซึ่งนักเสรีนิยมไม่กล้าย่างเท้าเข้าไป”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น